วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระนางพญา พร้อมประวัติ

ด้านหลังพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่าสภาพแห้งผาด ภาษาชาวบ้านแห้งขาดใจ



พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่าสภาพแห่งผาดสมกับอายุหลายร้อยปี




ด้านหลังพิมพ์เข่าตรงดูง่ายมีคราบกรุราดำ








พระนางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าตรงสภาพดูงายผิวเป็นธรรมชาติคราบกรุเห็นชัดเจน






ด้านหล้งพระนางพญา คราบกรุดูแล้วกลมกลืนไปกับเนื้อพระสิ่งเหล่านี้ธรรมชาติเป็นผู้สร้าง





พระนางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง สภาพอย่างนื้ธรรมชาติเท่านั้นเป็นผู้กระทำคราบกรุฝังแน่นล้างไม่ออกเนื้อด้านในต้องเข้มกว่าด้านนอก







ด้านหลังพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง สิ่งเหล่านี้ธรรมชาติเป็นผู้สร้าง









พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง เป็นธรรมชาติ นี่คือธรรมชาติเป็นผู้สร้างไว้





ด้านข้างองค์พระพิมพฺเข่าโค้ง หนาประมาณ 5-8 มม. หรือหนาประมาณเท่าเส้นตรอก





พระนางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง มีขนาดด้านล้างกว้างประมาณ 2 ชม.ความสูงประมาณ 3 ชม.ความหนาประมาณ เส้นตอก หรือ 5-8 มม.






กระผมขอแจ้งให้ผุ้อ่านทราบว่ากระผมเองก็เกิดไม่ทันได้แต่อ่านตำราและจะพิจารณาตามหลักความจริงทางหลักวิทยาศาตร์ ไม่เหมือนอย่างงานประกวดพระ พระของประชาชนทั่วไปไม่แท้ แต่ของพวกตัวเองแท้ทุกองค์ วันนี้เอาแค่นี้ ว่างๆๆจะเอารูปมาฝ่าก


ประวัติวัดนางพญาโดยสังเขป


วัดนางพญาตั้งอยู่ติดกับวัดราชบูรณะ อ.เมือง จ.พิษณุโลกสันนิษฐานว่าเป็นวัดที่กษัตริย์เป็นผู้สร้างแต่เดิมวัดทั้งสองอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ต่อมามีถนนตัดผ่านกลางกายเป็นสองวัด พระเจดีย์วัดนางพญาพังทลายมานานแล้ว สันนิษฐานน่าจะเป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนกลาง


ผู้สร้างพระนางพญา


พระนางพญาเป็นพระกรุมีอายุหลายร้อยปีรู้แต่ว่าสร้างในสมัยอยุธยา ส่วนคนที่สร้างที่แท้จริงนั้นยังหาหลักฐานไม่ได้ไม่มีบันทึก


ประวัติการเปิดกรุพระนางพญ


พระนางพญาถูกเปิดกรุครั้งแรกเมื่อใดไม่มีใครทราบ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ 2444 รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางวัดได้สร้างศาลาและซุ้มรับเสด็จบริเวณหน้าวัดเป็นการบังเอิญคนงานขุดหลุมเสา ได้พบพระนางพญาฝังดินอยู่เป็นจำนวนมากทางวัดได้ทราบเรื่องจึงเก็บรวบรวมไว้ เมี่อในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จมาที่วัดนางพญา ทางวัดจีงได้นำพระนางพญานำขึ้นทูลถวาย ในหลวงได้พระราชทานแก่ข้าราชบริพารและสันนิฐานว่า ส่วนที่เหลือได้นำไปฝากกรุตามวัดต่างๆ เช่น วันอินทร์ วัดเลียบ กรุวังหน้า กรุวัดสังข์กระจาย


เนื้อพระนางพญา


พระนางพญาเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านและเกสรดอกไม้นานาชนิดหลายอย่างและแร่กรวดทราย มีทั้งชนิด เนื้อหยาบ และเนื้อละเอียดไม่ว่าจะเป็นเนื้อไหนต้องมีแร่ แร่จมและแร่ลอยแร่ที่ปรากฏให้เห็นคือกรวดทรายนั้นเอง แร่เท่าที่เห็นอย่างน้อย 3 สีขึ้นไป คือ แร่สีดำ แร่สีนำตาล และสีขาวขุ่น ลักษณะของเนื้อพระทั่วไปจะมีความแห้งผากนานหลายร้อยปี พระที่ถูกใช้มาแล้วผิวจะขึ้นมันมีความซึ้งและเห็นมวลสารส่วน

ผสมต่างๆในเนื้อพระ


ลักษณะคราบกรุ


พระนางพญาเป็นพระกรุต้องมีคราบกรุ จะเป็นพระที่ใช้แล้วหรือยังไม่ได้ใช้ก็ตามคราบกรุจะมีสีอ่อนกว่าเนื้อพระคือสีจะไม่เหมือนกัน คราบกรุเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติล้างออกอยากคราบกรุฃองพระแต่ละสีจะไม่เหมือนกัน เช่น พระเนื้อสีแดง คราบกรุจะเป็นสีชมพูอ่อนๆปนแดง


การแยกพิมพ์


1.พิมพ์ข่าโค้ง


2.พิมพ์เข่าตรง


3.พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า


4.พิมพ์อกนุนใหญ่


5.พิมพ์สังฆาฏิ


6.พิมพ์อกแฟบ(ทรงเทวดา)


7.พิมพ์อกนูนเล็ก


8.พิมพ์อื่นๆ เช่น นางพญาเข่าบ่วง

ข้อมูลส่วนใหญ่จากหนังสือพระเบญจภาคี ฉบับพิเศษ

























































































































































พระนางพญา

ด้านหลังพระนางพญา เป็นธรรมชาติ


วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระนางพญา

พระนางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก เนื้อสีเขียวหินครก ของชมรมพระเครื่อง ลานกระบือ นำเสนอโดย อำนวย จิ๋วพุ่ม