วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระนางพญา พร้อมประวัติ

ด้านหลังพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่าสภาพแห้งผาด ภาษาชาวบ้านแห้งขาดใจ



พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่าสภาพแห่งผาดสมกับอายุหลายร้อยปี




ด้านหลังพิมพ์เข่าตรงดูง่ายมีคราบกรุราดำ








พระนางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าตรงสภาพดูงายผิวเป็นธรรมชาติคราบกรุเห็นชัดเจน






ด้านหล้งพระนางพญา คราบกรุดูแล้วกลมกลืนไปกับเนื้อพระสิ่งเหล่านี้ธรรมชาติเป็นผู้สร้าง





พระนางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง สภาพอย่างนื้ธรรมชาติเท่านั้นเป็นผู้กระทำคราบกรุฝังแน่นล้างไม่ออกเนื้อด้านในต้องเข้มกว่าด้านนอก







ด้านหลังพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง สิ่งเหล่านี้ธรรมชาติเป็นผู้สร้าง









พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง เป็นธรรมชาติ นี่คือธรรมชาติเป็นผู้สร้างไว้





ด้านข้างองค์พระพิมพฺเข่าโค้ง หนาประมาณ 5-8 มม. หรือหนาประมาณเท่าเส้นตรอก





พระนางพญาพิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง มีขนาดด้านล้างกว้างประมาณ 2 ชม.ความสูงประมาณ 3 ชม.ความหนาประมาณ เส้นตอก หรือ 5-8 มม.






กระผมขอแจ้งให้ผุ้อ่านทราบว่ากระผมเองก็เกิดไม่ทันได้แต่อ่านตำราและจะพิจารณาตามหลักความจริงทางหลักวิทยาศาตร์ ไม่เหมือนอย่างงานประกวดพระ พระของประชาชนทั่วไปไม่แท้ แต่ของพวกตัวเองแท้ทุกองค์ วันนี้เอาแค่นี้ ว่างๆๆจะเอารูปมาฝ่าก


ประวัติวัดนางพญาโดยสังเขป


วัดนางพญาตั้งอยู่ติดกับวัดราชบูรณะ อ.เมือง จ.พิษณุโลกสันนิษฐานว่าเป็นวัดที่กษัตริย์เป็นผู้สร้างแต่เดิมวัดทั้งสองอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ต่อมามีถนนตัดผ่านกลางกายเป็นสองวัด พระเจดีย์วัดนางพญาพังทลายมานานแล้ว สันนิษฐานน่าจะเป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนกลาง


ผู้สร้างพระนางพญา


พระนางพญาเป็นพระกรุมีอายุหลายร้อยปีรู้แต่ว่าสร้างในสมัยอยุธยา ส่วนคนที่สร้างที่แท้จริงนั้นยังหาหลักฐานไม่ได้ไม่มีบันทึก


ประวัติการเปิดกรุพระนางพญ


พระนางพญาถูกเปิดกรุครั้งแรกเมื่อใดไม่มีใครทราบ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ 2444 รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางวัดได้สร้างศาลาและซุ้มรับเสด็จบริเวณหน้าวัดเป็นการบังเอิญคนงานขุดหลุมเสา ได้พบพระนางพญาฝังดินอยู่เป็นจำนวนมากทางวัดได้ทราบเรื่องจึงเก็บรวบรวมไว้ เมี่อในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จมาที่วัดนางพญา ทางวัดจีงได้นำพระนางพญานำขึ้นทูลถวาย ในหลวงได้พระราชทานแก่ข้าราชบริพารและสันนิฐานว่า ส่วนที่เหลือได้นำไปฝากกรุตามวัดต่างๆ เช่น วันอินทร์ วัดเลียบ กรุวังหน้า กรุวัดสังข์กระจาย


เนื้อพระนางพญา


พระนางพญาเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านและเกสรดอกไม้นานาชนิดหลายอย่างและแร่กรวดทราย มีทั้งชนิด เนื้อหยาบ และเนื้อละเอียดไม่ว่าจะเป็นเนื้อไหนต้องมีแร่ แร่จมและแร่ลอยแร่ที่ปรากฏให้เห็นคือกรวดทรายนั้นเอง แร่เท่าที่เห็นอย่างน้อย 3 สีขึ้นไป คือ แร่สีดำ แร่สีนำตาล และสีขาวขุ่น ลักษณะของเนื้อพระทั่วไปจะมีความแห้งผากนานหลายร้อยปี พระที่ถูกใช้มาแล้วผิวจะขึ้นมันมีความซึ้งและเห็นมวลสารส่วน

ผสมต่างๆในเนื้อพระ


ลักษณะคราบกรุ


พระนางพญาเป็นพระกรุต้องมีคราบกรุ จะเป็นพระที่ใช้แล้วหรือยังไม่ได้ใช้ก็ตามคราบกรุจะมีสีอ่อนกว่าเนื้อพระคือสีจะไม่เหมือนกัน คราบกรุเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติล้างออกอยากคราบกรุฃองพระแต่ละสีจะไม่เหมือนกัน เช่น พระเนื้อสีแดง คราบกรุจะเป็นสีชมพูอ่อนๆปนแดง


การแยกพิมพ์


1.พิมพ์ข่าโค้ง


2.พิมพ์เข่าตรง


3.พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า


4.พิมพ์อกนุนใหญ่


5.พิมพ์สังฆาฏิ


6.พิมพ์อกแฟบ(ทรงเทวดา)


7.พิมพ์อกนูนเล็ก


8.พิมพ์อื่นๆ เช่น นางพญาเข่าบ่วง

ข้อมูลส่วนใหญ่จากหนังสือพระเบญจภาคี ฉบับพิเศษ

























































































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น